หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชันใน PHP

ฟังก์ชันใน PHP



PHP คืออะไร?
PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่า สคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปรชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปต์ก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบHTML โดยสามารถสอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHPเป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบDynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น
PHP ย่อมาจากคำว่า "Personal Home Page Tool" เป็น Server Side Script ที่มีการทำงานที่ฝั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ Server ซึ่งรูปแบบในการเขียนคำสั่งการทำงานนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับภาษา Perl หรือภาษา C และสามารถที่จะใช้ร่วมกับภาษา HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้รูปแบบเว็บเพจมีความสามารถเพิ่มขึ้นในด้านของการเขียนโปรแกรม ในการสร้างเว็บจะใช้ Script อยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
- Server-Side Script เป็นลักษณะของภาษาที่ทำงานบนเครื่อง Server เช่นCGI, ASP
 - Client-Side Script เป็นลักษณะของภาษาที่ทำงานบนเครื่องผู้ใช้เช่นJavaScript, VBScript
 การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน
การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้

<?php


function function_name(parameter1,…)
{

ชุดคำสั่ง

}
?>

ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function

<?php
function my_function()
{

$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก

BODYSTRING;
echo $mystring;

}
?>

การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้

my_function ();

การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser

 การตั้งชื่อฟังก์ชัน

สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
 -ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
-ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
-ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
-หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่

หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง

ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง

name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()

ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()

            การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก

ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน



ความสามารถของภาษา PHP
            เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML ซึ่งโค้ดของPHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้
            PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้ PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information Service(IIS) เป็นต้น
            ความสามารถของ PHP นั้น สามารถที่จะทำงานเกี่ยวกับ Dynamic Web ได้ทุกรูปแบบ เหมือนกับ CGI หรือ ASP ไม่ว่าจะเป็นการดูแลจัดการระบบฐานข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บเพจ การรับ - ส่ง Cookies เป็นต้น แต่ที่เป็นคุณสมบัติเด่นของPHP ก็น่าจะเป็นการติดต่อกับโปรแกรมจัดการระบบฐานข้อมูล ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งฐานข้อมูลที่ PHP สนับสนุนมีดังนี้
Adabas D      InterBase Solid           Microsoft Access
dBase               mSQL                          Sybase
Empress           MySQL                      Velocis
FilePro            Oracle                             Unix dbm
Informix          PostgreSQL                  SQL Server

ข้อดีและข้อด้อยของ PHP

ข้อดีของฟังก์ชันPHP

ความปลอดภัยอยู่ในระดับดี ถึงสูง พวกธนาคารหลายๆที่จึงเลือกใช้ สำหรับงานระดับลึกๆ หมายถึงข้อผิดพลาดของ bug ต่างๆ นะ
เมื่ออยู่บน linux,unix,solaris มันทำทำงานได้เร็วกว่า windows ประมาณเท่าตัว
รูปแบบการเขียน ยืดหยุ่นมาก เขียนได้ทั้ง แบบ เก่า ตือ HTML +code หน้าเดียว หรือแบบใหม่ HTML แยกกันกับ Code ,OOP
สามารถเขียนได้ ทั้ง win app (ยากฉิบหาย),batch script ,web app ,ล่าสุดมีคนพยายามทำให้มันเป็นเหมือน java นั่นคือ เอา php code ไปรันบน platform ไหนก็ได้
มี framework ช่วยพัฒนาเยอะมาก
อะไรที่ .net หรือ java มี เดี๋ยว php ก็มี ตาม (บางอย่าง .net ,java ก็มาลอก php ไป) เจ๊ากัน
เป็นที่นิยมในสถาบันการศึกษา เพราะฟรี

ข้อเสียของฟังก์ชันPHP

ขาด IDE ที่เป็นมาตรฐานกลางทำให้คนเขียน ต้องไป ขุดหาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาเอาเอง
บางทีออก version ใหม่บ่อยเกินไป
การเขียนบางที ต้อง include เยอะแยะไปหมด
ไม่มี บ. software ใหญ่ๆ เป็นป๋าดันให้ เลยไม่ดังเปรี้ยง แต่ค่อยๆดังเพราะทำความดี สะสม
การเขียนติดต่อระดับ component หรือ COM+ ของ windows อาจต้อง config ยุ่งยากหน่อย (ไม่เคยเขียน)
ใช้ IE เปิด web php.net ใน เครือข่าย kku แล้ว download php ยากมาก



ประโยชน์ที่ได้รับจาก PHP
             ในปัจจุบัน Web Site ต่างๆได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เช่น
เรื่องของความสวยงามและแปลกใหม่ การบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัย เป็นสื่อกลางในการ
ติดต่อ และสิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม เป็นอย่างมากซึ่ง ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบ
การขายของก็คือ E-commerce ซึ่งเจ้าของสินค้าต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าจริงและ
ไม่จำเป็นต้องจ้างคนขายของอีกต่อไป ร้านค้าและตัวสินค้านั้น จะไปปรากฏอยู่บน Web
 Site แทน และการซื้อขายก็เกิดขึ้นบนโลกของ Internet แล้ว PHP ช่วยเราให้เป็น
เจ้าของร้านบน Internet ได้อย่างไร PHP เป็นภาษาสคริปต์ที่มีความสามารถสูง
สำหรับการพัฒนา Web Site และความสามารถที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของ PHP
คือ database enabled web page ทำให้เอกสารของ HTML สามารถที่
จะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล (database) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงทำให้
ความต้องการในเรื่องการจัดรายการสินค้าและรับรายการสั่งของตลอดจนการจัดเก็บ
ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญผ่านทาง Internet เป็นไปได้อย่างง่ายดาย
รายการระบบฐานข้อมูลที่ PHP สามารถเชื่อมต่อได้คือ  
Oracle, Sybase, mSQL, MySQL, SOLID, ODBC,
 PostgreSQL, Adabas D, FilePro, Velocis, Informix, dbase, Unix dbm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น